วันศุกร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2556

กระบวนการคิดในการประมวลสารสนเทศ




มนุษย์
-         เครื่องรับข้อมูล = การรับข้อมูลจากสิ่งที่ได้รับรู้ เพื่อส่งไปประมวลผลในขั้นตอนต่อไป
-         การบันทึกผัสสะรับเก็บข้อมูลในเวลาจำกัด
-         การเก็บข้อมูลระยะเวลาสั้น = การเก็บข้อมูลที่ได้รับรู้เพียงชั่วครั้งชั่วคราว เมื่อกาลเวลานานไปก็จะเกิดอาการหลงลืมไปบ้าง
-         ความจำระยะยาว = ความจำถาวร นั่นก็คือ เป็นสิ่งที่ประทับใจหรือเกิดการฝังใจ ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานแค่ไหนก็ยังจำได้ โดยไม่หลงลืม

คอมพิวเตอร์
- Input  การรับข้อมูลเข้า หรือนำเข้าข้อมูล อุปกรณ์อย่างเช่น
            - เมาส์




            - คีย์บอร์ด



            - สแกนเนอร์


-Process การประมวลผลจากข้อมูลที่ได้นำเข้า เพื่อส่งไปยังความจำ อุปกรณ์อย่างเช่น
               - CPU



               - GPU



- RAM  เปรียบเสมือนความจำระยะสั้นของมนุษย์
            - ฮาร์ดดิสก์ เปรียบเสมือนความจำระยะยาวของมนุษย์

           
สามารถเข้าใจได้ง่ายๆ


อ้างอิง
http://www.geforce.com/whats-new/articles/introducing-the-geforce-gtx-680m-mobile-gpu







วันพฤหัสบดีที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2556

ปัญญาประดิษฐ์ (AI)


ปัญญาประดิษฐ์ (AI)
(คิดเหมือนมนุษย์)


ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) หรือ เอไอ (AI)
       หมายถึง   ความฉลาดเทียมที่สร้างขึ้นให้กับสิ่งที่ไม่มีชีวิต ปัญญาประดิษฐ์เป็นสาขาหนึ่งในด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์และวิศวกรรมเป็นหลัก แต่ยังรวมถึงศาสตร์ในด้านอื่นๆ อย่างจิตวิทยา ปรัชญา หรือชีววิทยา ซึ่งสาขาปัญญาประดิษฐ์เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการการคิด การกระทำการให้เหตุผลการปรับตัว หรือการอนุมาน และการทำงานของสมองแม้ว่าดังเดิมนั้นเป็นสาขาหลักใน วิทยาการคอมพิวเตอร์
ระบบที่คิดเหมือนมนุษย์ (Systems that think like humans)
1.1  [AI คือ] ความพยายามใหม่อันน่าตื่นเต้นที่จะทำให้คอมพิวเตอร์คิดได้ ... เครื่องจักรที่มีสติปัญญา
อย่างครบถ้วนและแท้จริง ("The exciting new effort to make computers think ... machines with
minds, in the full and literal sense." [Haugeland, 1985])
1.2  [AI คือ กลไกของ] กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับความคิดมนุษย์ เช่น การตัดสินใจ การแก้ปัญหาการเรียนรู้
หมายเหตุ  ก่อนที่จะทำให้เครื่องคิดอย่างมนุษย์ได้ ต้องรู้ก่อนว่ามนุษย์มีกระบวนการคิดอย่างไร ซึ่งการวิเคราะห์  ลักษณะการคิดของมนุษย์ เป็นศาสตร์ด้าน cognitive science
เช่น    -  ศึกษาการเรียงตัวของเซลล์สมองในสามมิติ
           - ศึกษาการถ่ายเทประจุไฟฟ้า
           - วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงทางเคมีไฟฟ้าในร่างกาย ระหว่างการคิด
ซึ่งจนถึงปัจจุบันเราก็ยังไม่รู้แน่ชัดว่า มนุษย์เรา คิดได้อย่างไร

ตัวอย่างปัญญาประดิษฐ์ที่คิดเหมือนมนุษย์ เช่น
อ่านใจสุนัขด้วยเครื่องสแกนสมอง
คอลลี่ (พันธุ์ฟีสท์ อายุ 2 ปี อยู่ในกลุ่มเดียวกับพวกเทอร์เรีย มักถูกเลี้ยงเอาไว้เพื่อล่ากระรอก) และแม็คเคนซี่ (พันธุ์บอนเดอร์ คอลลี่ อายุ 3 ปี) นอกจากจะถูกฝึกให้อยู่นิ่งๆ ในอุโมงค์ได้ ยังถูกฝึกให้รับรู้สัญญาณมือจากมนุษย์ โดยถ้ายกมือซ้ายขึ้น หมายความว่ามันจะได้กินฮอทด็อก แต่ถ้ายกมือทั้งสองข้างชึ้เข้าหากัน แปลว่า "อด"
ผลการทดลองพบว่าสมองของสุนัขตอบสนองต่อสัญญาณมือของมนุษย์เป็นอย่างดี (ตามที่เราน่าจะเดาได้แต่ต้น) โดยสัญญาณจากการยกมือซ้ายชี้ขึ้นข้างเดียว (ที่แปลว่ามันจะได้ฮอทด็อก) จะไปกระตุ้นสมองส่วน
caudate ที่จะทำงานเมื่อมันได้รับอาหาร (หรือได้ "รางวัล" ดังนั้นเราจึงเรียกสมองส่วนนี้ว่า "reward system" ซึ่งเป็นสมองที่จะทำให้เราเกิดความรู้สึก "พึงพอใจ"/"ดีใจ" เวลาที่เราได้รับ หรือคาดว่าจะได้รับอาหาร เล่นเกม เสพยา หรือทำอะไรก็ตามที่ทำแล้วมีความสุข) งานวิจัยนี้เป็นงานแรกที่สแกนสมองในสัตว์ที่ตื่นเต็มตาและไม่ได้ถูกจองจำให้ต้องอยู่นิ่งๆ ซึ่งจะสร้างเทคนิควิธีการวิจัยใหม่ๆ ที่เคยสงสัยกันใช่ไหมว่า เวลาที่น้องหมาทำหน้าทำตาหรือแสดงพฤติกรรมต่างๆ ออกมา แท้จริงแล้วมันคิดอะไรอยู่กันแน่?
                ก่อนหน้านี้การทำวิจัยที่ต้องใช้เครื่องสแกนสมองในสัตว์ มีข้อจำกัดตรงที่มันจะขยับตัวอยู่ตลอดเวลา และผลที่ได้จะคลาดเคลื่อน ทำให้เราทำได้แค่สแกนสมองของสัตว์ที่ถูกทำให้สลบ หรือถูกจับให้อยู่นิ่งๆ แล้วเท่านั้น ซึ่งไม่สามารถสะท้อนการตอบสนองของสมองที่แท้จริงได้ล่าสุด นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย
Emory ได้คิดค้นวิธีการที่ทำให้เราสามารถสแกนสมองสุนัขทั้งๆ ที่ยังตื่นอยู่และไม่ถูกจับให้อยู่นิ่งๆ ไว้ได้โดยพวกเขาได้รับแรงบันดาลใจจากการได้เห็นสุนัขทหารในหน่วย SEAL ของสหรัฐฯ ซึ่งอยู่ในทีมที่เข้าปะทะและปลิดชีพบิน ลาเด็น ถูกฝึกให้กระโดดขึ้นๆ ลงๆ อากาศยานได้ ถ้าหากสุนัขสามารถถูกฝึกให้ทำเช่นนั้นได้ มันก็ต้องถูกฝึกให้อยู่นิ่งๆ ในเครื่องอุโมงค์สแกนสมองด้วยสนามแม่เหล็กสั่นพ้อง (fMRI - ย่อมาจาก functional magnetic resonance imaging) ได้เช่นกัน
การที่สุนัขสามารถถูกฝึกได้ ให้ความสนใจต่อลักษณะท่าทางของมนุษย์เป็นอย่างดี ทำให้มันเป็นสัตว์เลี้ยงคู่ใจของมนุษย์มานาน และอาจเรียกได้ส่งผลต่อวิวัฒนาการของมนุษย์เองเสียด้วยซ้ำ ดังนั้นเครื่องสแกนจึงน่าสนใจมากเพราะสามารถตอบโจทย์ได้ว่าสุนัขเข้าใจจิตใจของมนุษย์ได้อย่างไร? สุนัขเข้าใจภาษาของมนุษย์ได้อย่างไร? สุนัขแยกแยะมนุษย์ได้อย่างไร? ใช้การมองเห็นหรือการดมกลิ่นเป็นหลัก? สมองของสุนัขแยกระหว่างมนุษย์และสิ่งอื่นๆ ได้อย่างไร? ทำให้เราสามารถเรียนรู้นิสัยสัตว์ ศึกษาปัญหาของสัตว์เลี้ยงเราได้เป้นอย่างดี เป็นเทคโนโลยีที่มนุษย์อย่างเราไม่ต้องคาดเดาอีกต่อไปเพรามีเครื่องที่คิดเหมือนเราแม่นยำกว่าเรามาคิดแทนเราแล้ว

การคิดคืออะไร




ไบเออร์ (Beyer, 1987) (ดร.สุวิทย์ มูลคำ, 2549: 13) ได้กล่าวว่า "การคิด" คือ การค้นหาความหมาย ผู้ที่คิดคือผู้ที่กำลังค้นหาความหมายของอะไรบางอย่าง นั้นคือกำลังใช้สติปัญญาของตนเอง ทำความเข้าใจกับการนำความรู้ใหม่ที่ได้รับรวมเข้ากับความรู้ดั้งเดิมหรือประสบการณ์ที่มีอยู่ เพื่อหาคำตอบว่าคืออะไร หรือการเอาข้อมูลที่เพิ่งรับเข้ามาใหม่ ไปรวมกับข้อมูลเก่าที่รำลึกได้ เพื่อสร้างเป็นความคิดอ่านหรือข้อตัดสิน
ดิวอี้ ได้ให้แนวคิดเกี่ยวกับความสำคัญของการคิดว่า เป็นสิ่งที่มีคุณค่าเพราะการคิดช่วยให้คนได้มองเห็นภาพปัญหาต่าง ๆ ในอนาคตซึ่งจะช่วยให้บุคคลได้คิดหาแนวทางในการหลีกเลี่ยงหรือป้องกันได้และการคิดช่วยขยายความหมายของสิ่งต่างๆ ใน โลกได้ และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการคิดคือ คนจะมีการปฏิบัติหรือการกระทำตามที่เขาคิดถึงแม้ว่ามันจะถูกหรือผิดก็ตาม
ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ (2547) ผู้อำนวยการสถาบันอนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนา นักวิชาการด้านการคิดที่มีชื่อเสียงของประเทศและยังเป็นที่ปรึกษาอาวุโสแห่งมหาวิทยาลัยฮาวาร์ดสหรัฐอเมริกา ได้ให้ทัศนะไว้ในการบรรยาย เรื่อง "การคิดแบบนักบริหาร" ไว้ตอนหนึ่งว่า (เอกสารการบรรยายหลักสูตรนายอำเภอรุ่นที่ 56, 2547: 1) "การคิดเป็นผลจากการทำงานของสมองในการก่อรูป (Formulate) บางสิ่งบางอย่างขึ้นในมโนคติ (mind) ผ่านการทำงานของระบบการรับรู้ทางจิต (cognitive system) โดยในบางส่วนของความคิดจะทำหน้าที่แยกแยะการกระทำและความรู้สึกผ่านกระบวนการทางความคิดอันนำไปสู่พฤติกรรมที่ตอบสนองสถานการณ์นั้น
ดร.สุวิทย์ มูลคำ (2549) นักวิชาการและนักบริหารด้านการศึกษา ได้กล่าวถึงความสำคัญของการพัฒนาการศึกษาไว้สรุปได้ว่า (ดร.สุวิทย์ มูลคำ, 2549: 1) "ผลลัพธ์สุดท้ายของการบริหารการศึกษาคือคุณภาพของนักเรียน กล่าวคือ เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์มีลักษณะ เก่ง ดี มีความสุข จำเป็นค้นคว้าศึกษาหาวิธีพัฒนาต่างๆ มาใช้ โดยเฉพาะทักษะกระบวนการคิดให้เร็วที่สุด มิฉะนั้นจะไม่ทันต่อความเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก และสงครามที่กำลังจะเกิดขึ้นทั้งปัจจุบันและอนาคต คือ สงครามทางความคิด


ความสำคัญของการคิด


ดิวอี้ ได้ให้แนวคิดเกี่ยวกับการคิดว่าเป็นสิ่งที่มีคุณค่าเพราะการคิดช่วยให้คนได้มองเห็นภาพปัญหาต่าง ๆ ในอนาคตซึ่งจะช่วยให้บุคคลได้คิดหาแนวทางในการหลีกเลี่ยงหรือป้องกันได้และการคิดช่วยขยายความหมายของสิ่งต่างๆ ในโลกได้ และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการคิดคือ คนจะมีการปฏิบัติหรือการกระทำตามที่เขาคิดถึงแม้ว่ามันจะถูกหรือผิดก็ตามเนื่องจากการคิดมีพลังอำนาจ
จึงต้องการการควบคุมโดยได้แนะนำวิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการช่วยรักษาความคิดให้เป็นไปอย่างถูกต้องโดยมีการควบคุมเงื่อนไขภายใต้การสังเกต และการสรุปความคิดตามสิ่งที่เกิดขึ้นและได้มีการทบทวนแนวคิดโดยกล่าวว่า สิ่งที่บุคคลรู้จะเป็นสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดกระบวนการคิดครั้งแรกแล้วจึงนำไปสู่การคิดในสิ่งอื่นๆซึ่งก่อให้เกิดความสมบูรณ์ของกระบวนการคิดนั้น เนื่องจากการคิดมีอิทธิพลอย่างมากจากกิเลสที่อยู่ภายในตัวบุคคล และสังคม

ความแตกต่างกันในการคิด



*                   การคิดคล่องหรือคิดเร็ว กล้าที่จะคิดและมีความคิดหลั่งไหล ออกมาได้อย่างรวดเร็ว การคิดเร็ว จะช่วยให้เกิดความตื่นตัวในการตอบสนองโดยมีการตีความและช่วยให้เกิดความคิดเห็นตามมา
*                   การคิดหลากหลาย ความคิดหลายๆ ลักษณะ หลายประเภทหลายชนิดหลายรูปแบบ ถ้ามี
ความคิดเห็นที่น้อยเกินไปก็เป็นสิ่งบ่งชี้ว่ามีข้อมูลที่ไม่เพียงพอ หรือขาดแคลน อย่างไรก็ตามความคิดเห็นที่มีจำนวนมากทั้งเห็นด้วย และขัดแย้งกันทำให้ยากต่อการ ตัดสินใจและความคิดเห็นที่มากเกินไปทำให้เป็นอุปสรรคต่อการเรียบเรียงลำดับความเป็นเหตุผล ดังนั้นการคิดที่ดีที่สุดคือ การมีความสมดุล ระหว่างความมากและน้อยของความคิดเห็น
*                   การคิดลึกซึ้งเป็นการคิดให้เกิดความเข้าใจอย่างแท้จริงในสิ่งที่คิด โดยเข้าใจถึงสาเหตุที่มาและความสัมพันธ์ต่างๆที่ซับซ้อนของโครงสร้างและรวมทั้งคุณค่าหรือความหมายที่แท้จริงของสิ่งที่คิด

การคิดแบบวิจารณญาณ
การคิดแบบวิจารณญาณ จะเกิดขึ้นเมื่อมีการนำความคิดเห็นมาจัดเป็น ระบบโดยกำหนดมิติแล้วนำข้อมูล มาจัดเป็นกลุ่มตามมิติ แล้วนำมาหาความสัมพันธ์ระหว่างมิติด้วย ความคิดเห็นเหล่านั้นจะถูกจัดการ โดยยึดข้อเท็จจริงที่นำมาพิสูจน์และมีการพิจารณาร่วมกับบุคคลอื่นการพัฒนาลักษณะนิสัยของการจัดลำดับการคิดเป็นวิธีการทางอ้อมไม่ใช่ทางตรง โดยการจัดลำดับการคิดจะกระทำผ่านการจัดลำดับของกิจกรรมการสังเกตต้องมีการดำเนินการเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพของการกระทำโดยต้องกระทำอย่างถูกต้อง แล้วนำข้อมูลที่เกี่ยวข้องกันมาจัดหมวดหมู่และแบ่งแยกออกเป็นกลุ่มเพื่อนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์
ปัญหาในการสร้างนิสัยในการคิดแบบวิจารณญาณ 
     จึงอยู่ที่การสร้างสถานการณ์ในการกระตุ้นและชี้นำให้เกิดความกระตือรือร้น   การกำหนดความเกี่ยวพันของประสบการณ์เพื่อส่งเสริมการสร้างความคิดเห็น  การสร้างสรรค์ปัญหาและจุดมุ่งหมายที่จะสนับสนุน ความต่อเนื่องและลำดับของการคิดในการสร้างความสำเร็จของการคิด

นิสัยในการคิด
*                   นิสัยในการคิด หมายถึง ลักษณะการแสดงออกของบุคคล ประกอบด้วย 
ความกระตือรือร้น หมายถึง พฤติกรรมที่บุคคลที่แสดงออกอันเนื่องจากการปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมระดับความกระตือรือร้นมี3ระดับคือ
*                   ระดับที่ 1 ความกระตือรือร้นได้มาจากสัญชาตญาณของสิ่งมีชีวิต
*                   ระดับที่ 2 เป็นการอยากรู้ในสิ่งที่สงสัยเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมโดยทั่วไป
*                   ระดับที่ 3 เป็น การใช้สติปัญญาโดยจะปรับเปลี่ยนเป็นความสนใจในปัญหาโดยมีการสังเกตสิ่งต่าง ๆ และมีการรวบรวมข้อมูลที่จำเป็นและมีความตื่นตัว ในการแสวงหาคำตอบด้วยตนเอง
การจัดลำดับการคิด
*                   การจัดลำดับการคิด หมายถึง การนำความคิดเห็นมาจัดเป็นระบบ การจัดลำดับการคิด เป็นวิธีการทางอ้อม โดยการจัดลำดับการคิดจะกระทำผ่านการจัดลำดับของกิจกรรม
*                   การสร้างสถานการณ์ในการกระตุ้นและชี้นำให้เกิดความกระตือรือร้น
*                   การกำหนดความเกี่ยวพันของประสบการณ์ เพื่อส่งเสริมการสร้างความคิดเห็น
*                   การสร้างสรรค์ปัญหาและจุดมุ่งหมายที่จะสนับสนุน ความต่อเนื่องและลำดับของการคิดในการสร้างความสำเร็จของการคิด


อ้างอิง
http://www.baanjomyut.com/library_2/scientific_thinking_skills/01.html