วันพฤหัสบดีที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2556

ปัญญาประดิษฐ์ (AI)


ปัญญาประดิษฐ์ (AI)
(คิดเหมือนมนุษย์)


ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) หรือ เอไอ (AI)
       หมายถึง   ความฉลาดเทียมที่สร้างขึ้นให้กับสิ่งที่ไม่มีชีวิต ปัญญาประดิษฐ์เป็นสาขาหนึ่งในด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์และวิศวกรรมเป็นหลัก แต่ยังรวมถึงศาสตร์ในด้านอื่นๆ อย่างจิตวิทยา ปรัชญา หรือชีววิทยา ซึ่งสาขาปัญญาประดิษฐ์เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการการคิด การกระทำการให้เหตุผลการปรับตัว หรือการอนุมาน และการทำงานของสมองแม้ว่าดังเดิมนั้นเป็นสาขาหลักใน วิทยาการคอมพิวเตอร์
ระบบที่คิดเหมือนมนุษย์ (Systems that think like humans)
1.1  [AI คือ] ความพยายามใหม่อันน่าตื่นเต้นที่จะทำให้คอมพิวเตอร์คิดได้ ... เครื่องจักรที่มีสติปัญญา
อย่างครบถ้วนและแท้จริง ("The exciting new effort to make computers think ... machines with
minds, in the full and literal sense." [Haugeland, 1985])
1.2  [AI คือ กลไกของ] กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับความคิดมนุษย์ เช่น การตัดสินใจ การแก้ปัญหาการเรียนรู้
หมายเหตุ  ก่อนที่จะทำให้เครื่องคิดอย่างมนุษย์ได้ ต้องรู้ก่อนว่ามนุษย์มีกระบวนการคิดอย่างไร ซึ่งการวิเคราะห์  ลักษณะการคิดของมนุษย์ เป็นศาสตร์ด้าน cognitive science
เช่น    -  ศึกษาการเรียงตัวของเซลล์สมองในสามมิติ
           - ศึกษาการถ่ายเทประจุไฟฟ้า
           - วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงทางเคมีไฟฟ้าในร่างกาย ระหว่างการคิด
ซึ่งจนถึงปัจจุบันเราก็ยังไม่รู้แน่ชัดว่า มนุษย์เรา คิดได้อย่างไร

ตัวอย่างปัญญาประดิษฐ์ที่คิดเหมือนมนุษย์ เช่น
อ่านใจสุนัขด้วยเครื่องสแกนสมอง
คอลลี่ (พันธุ์ฟีสท์ อายุ 2 ปี อยู่ในกลุ่มเดียวกับพวกเทอร์เรีย มักถูกเลี้ยงเอาไว้เพื่อล่ากระรอก) และแม็คเคนซี่ (พันธุ์บอนเดอร์ คอลลี่ อายุ 3 ปี) นอกจากจะถูกฝึกให้อยู่นิ่งๆ ในอุโมงค์ได้ ยังถูกฝึกให้รับรู้สัญญาณมือจากมนุษย์ โดยถ้ายกมือซ้ายขึ้น หมายความว่ามันจะได้กินฮอทด็อก แต่ถ้ายกมือทั้งสองข้างชึ้เข้าหากัน แปลว่า "อด"
ผลการทดลองพบว่าสมองของสุนัขตอบสนองต่อสัญญาณมือของมนุษย์เป็นอย่างดี (ตามที่เราน่าจะเดาได้แต่ต้น) โดยสัญญาณจากการยกมือซ้ายชี้ขึ้นข้างเดียว (ที่แปลว่ามันจะได้ฮอทด็อก) จะไปกระตุ้นสมองส่วน
caudate ที่จะทำงานเมื่อมันได้รับอาหาร (หรือได้ "รางวัล" ดังนั้นเราจึงเรียกสมองส่วนนี้ว่า "reward system" ซึ่งเป็นสมองที่จะทำให้เราเกิดความรู้สึก "พึงพอใจ"/"ดีใจ" เวลาที่เราได้รับ หรือคาดว่าจะได้รับอาหาร เล่นเกม เสพยา หรือทำอะไรก็ตามที่ทำแล้วมีความสุข) งานวิจัยนี้เป็นงานแรกที่สแกนสมองในสัตว์ที่ตื่นเต็มตาและไม่ได้ถูกจองจำให้ต้องอยู่นิ่งๆ ซึ่งจะสร้างเทคนิควิธีการวิจัยใหม่ๆ ที่เคยสงสัยกันใช่ไหมว่า เวลาที่น้องหมาทำหน้าทำตาหรือแสดงพฤติกรรมต่างๆ ออกมา แท้จริงแล้วมันคิดอะไรอยู่กันแน่?
                ก่อนหน้านี้การทำวิจัยที่ต้องใช้เครื่องสแกนสมองในสัตว์ มีข้อจำกัดตรงที่มันจะขยับตัวอยู่ตลอดเวลา และผลที่ได้จะคลาดเคลื่อน ทำให้เราทำได้แค่สแกนสมองของสัตว์ที่ถูกทำให้สลบ หรือถูกจับให้อยู่นิ่งๆ แล้วเท่านั้น ซึ่งไม่สามารถสะท้อนการตอบสนองของสมองที่แท้จริงได้ล่าสุด นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย
Emory ได้คิดค้นวิธีการที่ทำให้เราสามารถสแกนสมองสุนัขทั้งๆ ที่ยังตื่นอยู่และไม่ถูกจับให้อยู่นิ่งๆ ไว้ได้โดยพวกเขาได้รับแรงบันดาลใจจากการได้เห็นสุนัขทหารในหน่วย SEAL ของสหรัฐฯ ซึ่งอยู่ในทีมที่เข้าปะทะและปลิดชีพบิน ลาเด็น ถูกฝึกให้กระโดดขึ้นๆ ลงๆ อากาศยานได้ ถ้าหากสุนัขสามารถถูกฝึกให้ทำเช่นนั้นได้ มันก็ต้องถูกฝึกให้อยู่นิ่งๆ ในเครื่องอุโมงค์สแกนสมองด้วยสนามแม่เหล็กสั่นพ้อง (fMRI - ย่อมาจาก functional magnetic resonance imaging) ได้เช่นกัน
การที่สุนัขสามารถถูกฝึกได้ ให้ความสนใจต่อลักษณะท่าทางของมนุษย์เป็นอย่างดี ทำให้มันเป็นสัตว์เลี้ยงคู่ใจของมนุษย์มานาน และอาจเรียกได้ส่งผลต่อวิวัฒนาการของมนุษย์เองเสียด้วยซ้ำ ดังนั้นเครื่องสแกนจึงน่าสนใจมากเพราะสามารถตอบโจทย์ได้ว่าสุนัขเข้าใจจิตใจของมนุษย์ได้อย่างไร? สุนัขเข้าใจภาษาของมนุษย์ได้อย่างไร? สุนัขแยกแยะมนุษย์ได้อย่างไร? ใช้การมองเห็นหรือการดมกลิ่นเป็นหลัก? สมองของสุนัขแยกระหว่างมนุษย์และสิ่งอื่นๆ ได้อย่างไร? ทำให้เราสามารถเรียนรู้นิสัยสัตว์ ศึกษาปัญหาของสัตว์เลี้ยงเราได้เป้นอย่างดี เป็นเทคโนโลยีที่มนุษย์อย่างเราไม่ต้องคาดเดาอีกต่อไปเพรามีเครื่องที่คิดเหมือนเราแม่นยำกว่าเรามาคิดแทนเราแล้ว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น