วันจันทร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2555

วันลอยกระทง

ประเพณีวันลอยกระทง
(ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12)



        การลอยกระทงในเมืองไทย มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัย เรียกว่า การลอยพระประทีป หรือลอยโคม เป็นงานนักขัตฤกษ์รื่นเริงของประชาชนทั่วไป ต่อมานางนพมาศหรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์สนมเอกของพระร่วง ได้คิดประดิษฐ์ดัดแปลงเป็นรูปกระทงดอกบัวแทนการลอยโคม การลอยกระทงหรือลอยโคมในสมัยนางนพมาศ กระทำเพื่อเป็นการสักการะรอยพระพุทธบาทที่แม่น้ำนัมมทานที ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหนึ่งอยู่ในแคว้นทักขิณาบถของประเทศอินเดีย ปัจจุบันเรียกว่าแม่น้ำเนรพุทท อันที่จริงลอยกระทงเป็นประเพณีขอขมาธรรมชาติมาแต่ดึกดำบรรพ์ เพราะชาวบ้านทั่วไปรู้จากประสบการณ์ว่า ถึงเดือนสิบเอ็ด (หรือราวเดือนตุลาคม) น้ำจะขึ้นนองหลาก,พอถึงเดือนสิบสอง (หรือราวเดือนพฤศจิกายน) น้ำจะทรงตัวคือไม่ขึ้นไม่ลง,ครั้นเดือนอ้าย (หรือราวเดือนธันวาคม) ต่อเดือนยี่ (หรือราวเดือนมกราคม) น้ำจะลดลง

          การลอยกระทงในปัจจุบัน ยังคงรักษารูปแบบเดิมเอาไว้ได้ตามสมควร เมื่อถึงวันเพ็ญพระจันทร์เต็มดวงในเดือน 12 ชาวบ้านจะจัดเตรียมทำกระทงจากวัสดุที่หาง่ายตามธรรมชาติ เช่น หยวกกล้วยและดอกบัว นำมาประดิษฐ์เป็นกระทงสวยงาม ปักธูปเทียนและดอกไม้เครื่องสักการบูชา ก่อนทำการลอยในแม่น้ำก็จะอธิษฐานในสิ่งที่มุ่งหวัง พร้อมขอขมาต่อพระแม่คงคา ตามคุ้มวัดหรือสถานที่จัดงานหลายแห่ง มีการประกวดกระทง ประกวดนางนพมาศ และมีมหรสพสมโภชในตอนกลางคืน นอกจากนั้นยังมีการจุดดอกไม้ไฟ พลุ ตะไล ซึ่งในการเล่นต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ วัสดุที่นำมาใช้กระทง ควรเป็นของที่สามารถย่อยสลายได้ง่ายตามธรรมชาติ

วันลอยกระทงของดิฉันในปีนี้   

     

   
        ในทุกๆปี ดิฉันก็จะทำกระทงไปลอยเองกับพี่ๆน้องๆ ผู้คนในหมู่บ้าน ไม่ได้มีการจัดงานอะไรมากมาย แต่ในปีนี้เป็นปีที่พิเศษมากๆ เพราะเป็นปีแรกที่ได้ทำการลอยกระทงร่วมกับเพื่อนๆ และลอยในสถานที่ที่มีความพิเศษเช่นเดียวกัน นั่นคือบึงสีฐาน มหาวิทยาลัยขอนแก่น สถาบันที่ดิฉันภาคภูมิใจ และในงานก็มีผู้คนมากมาย ต่างจากทุกๆปีที่เคยเจอมา 
       ในปีนี้นอกจากจะได้ลอยกระทงแล้ว ก็มีอีกหลายอย่างที่ได้ทำร่วมกับเพื่อน อย่างเช่น ปล่อยหอย ปล่อยปลา เดินเที่ยวงานด้วยกัน ในงานก็จะมีร้านต่างๆมากมาย ปาโป่ง บ้านผีสิง ชิงช้าสวรรค์ และอื่นๆอีกมากมาย การได้เดินดูนั่นดูนี่ร่วมกับเพื่อนเป็นอะไรที่ทำให้ดิฉันมีความสุขมากและจะอยู่ในความทรงจำของดิฉันตลอดไป


ขอบคุณเพื่อนๆทีทำให้วันลอยกระทงในปีนี้ไม่เงียบเหงา... :))



       

วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555


การคิดวิเคราะห์

           การวิเคราะห์ปัญหา  โดยการใช้เทคนิค  5W1H  ในการคิดวิเคราะห์แบบแก้ปัญหา  จะใช้ในขั้นตอนของการวิเคราะห์ข้อมูล และทดสอบสมมติฐาน  มีรายละเอียด  ดังนี้            

ปัญหาคืออะไร  หรือ อะไรคือปัญหา                           

Who           ใคร           (ในเรื่องนั้นมีใครบ้าง)
What           ทำอะไร     (แต่ละคนทำอะไรบ้าง)
Where         ที่ไหน       (เหตุการณ์หรือสิ่งที่ทำนั้นอยู่ที่ไหน)
When        เมื่อไหร่     (เหตุการณ์หรือสิ่งที่ทำนั้นทำเมื่อวัน เดือน ปี ใด)
Why            ทำไม        (เหตุใดจึงได้ทำสิ่งนั้น หรือเกิดเหตุการณ์นั้นๆ)
How            อย่างไร     (เหตุการณ์หรือสิ่งที่ทำนั้นทำเป็นอย่างไรบ้าง)

     แล้วรวมรวมข้อมูลทั้งหมดมาจัดระบบหรือเรียบเรียงให้ง่ายแก่การทำความเข้าใจซึ่งเป็นการค้นหาความจริงหรือความสำคัญ

เทคนิคการคิดวิเคราะห์

        การคิดวิเคราะห์ เป็นการคิดโดย ใช้สมองซีกซ้าย เป็นหลัก เป็นการคิดเชิงลึก คิดอย่างละเอียด จากเหตุไปสู่ผล ตลอดจนการเชื่อมโยงความสำพันธ์ในเชิงเหตุและผล


ประโยชน์ของการคิดวิเคราะห์

1. ช่วยให้เรารู้ข้อเท็จจริง รู้เหตุผลเบื้องหลังของสิ่งที่เกิดขึ้น เข้าใจความ
    เป็นมาเป็นไปของเหตุการณ์ต่าง ๆ

2. เป็นฐานความรู้ในการนำไปใช้ในการตัดสินใจแก้ปัญหา

3. ช่วยให้เราหาเหตุผลที่สมเหตุสมผลให้กับสิ่งที่เกิดขึ้นจริง

4. ช่วยประมาณความน่าจะเป็น



กรรมวิธีของการคิดวิเคราะห์



การคิดวิเคราะห์มีขั้นตอนการคิดที่มีประโยชน์ดังนี้
  1. การจำแนกความเห็นในประเด็นปัญหาจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องและการจัดเก็บข้อโต้แย้งที่มีตรรกะที่สนับสนุนในแต่ละฝ่าย
  2. แตกข้อโต้แย้งออกเป็นส่วน ๆ ตามเนื้อหาของคำแถลงและดึงเอาเนื้อหาส่วนเพิ่มเติมที่มีความหมายตรงนัยของคำแถลง
  3. ตรวจสอบคำแถลงและความหมายตามนัยเหล่านี้เพื่อหาความขัดแย้งในตัวเอง
  4. บ่งชี้เนื้อหาการอ้างที่ขัดแย้งกันในบรรดาข้อถกเถียงต่าง ๆ ที่มีแล้วจึงใส่น้ำหนักหรือคะแนนให้ข้ออ้างนั้น ๆ
    1. เพิ่มน้ำหนักเมื่อข้ออ้างมีหลักฐานสนับสนุนที่เด่นชัด โดยเฉพาะการมีเหตุมีผลที่สอดคล้องกัน หรือมีหลักฐานจากแหล่งใหม่ ๆ หลายแหล่ง ลดน้ำหนักเมื่อข้ออ้างมีความขัดแย้งกัน
    2. ปรับน้ำหนักขึ้นลงตามความสอดคล้องของข้อมูลกับประเด็นกลาง
    3. จะต้องมีหลักฐานสนับสนุนที่เพียงพอสำหรับใช้ในการตัดสินข้ออ้างที่ไม่น่าเชื่อถือ หรือมิฉะนั้น จะต้องไม่นำประเด็นการกล่าวอ้างดังกล่าวมาประกอบการตัดสิน
  5. ประเมินน้ำหนักด้านต่าง ๆ ของข้ออ้าง
ผังมโนภาพ (Mind maps) เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสำหรับการจัดรูปและการประเมินค่าข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ในขั้นสุดท้าย เราอาจกำหนดน้ำหนักเป็นตัวเลขสำหรับแต่ละแขนงของแผนที่ในใจ
การคิดวิเคราะห์ไม่ใช่สิ่งที่ใช้ประกันว่าได้บรรลุถึงความจริง หรือ ข้อสรุปที่ถูกต้องแล้ว ประการแรก เราอาจไม่สามารถหาข้อมูลที่ถูกต้องได้ ซึ่งโดยข้อเท็จจริงแล้ว ข้อมูลที่มีความสำคัญอาจยังไม่มีการค้นพบ หรือยังเป็นข้อมูลที่ยังไม่มีใครรู้ว่าเป็นอะไร ประการที่สอง ความลำเอียงของคนการปิดบังหรือถ่วงประสิทธิภาพในการเก็บ ประเมินข้อมูลที่มีอยู่แล้ว


อ้างอิง


  1. ^ ราชบัณฑิตยสถาน (2530). พจนานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติ พ.ศ. 2530. กรุงเทพฯ: วัฒนาพานิช. p. 492.
  2. ^ สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2549). แนวทางการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์. กรุงเทพฯ. ISBN 974-477-683-8.
  3. ^ "การคิดเชิงวิพากษ์ในงานสังคมสงเคราะห์ (Critical Thinking in Social Work)". สมาคมนักสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย. 15 มิถุนายน 2555http://thaisocialwork.org/index.php?option=com_content&view=article&id=202:critical-thinking-in-social-work-&catid=48:socialwork-km. เรียกข้อมูลเมื่อ 20 กันยายน 2555.
  4. ^ อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย (2543). การคิดอย่างมีวิจารณญาณ: การเรียนการสอนทางพยาบาลศาสตร์. กรุงเทพฯ: ธนาเพรส แอนกราฟิก.
  5. ^ ทิศนา แขมมณี (2534). "การพัฒนากระบวนการคิด". วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) (ฉบับที่ ตุลาคม-ธันวาคม): 19-28.