วันพฤหัสบดีที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2556

การคิดคืออะไร




ไบเออร์ (Beyer, 1987) (ดร.สุวิทย์ มูลคำ, 2549: 13) ได้กล่าวว่า "การคิด" คือ การค้นหาความหมาย ผู้ที่คิดคือผู้ที่กำลังค้นหาความหมายของอะไรบางอย่าง นั้นคือกำลังใช้สติปัญญาของตนเอง ทำความเข้าใจกับการนำความรู้ใหม่ที่ได้รับรวมเข้ากับความรู้ดั้งเดิมหรือประสบการณ์ที่มีอยู่ เพื่อหาคำตอบว่าคืออะไร หรือการเอาข้อมูลที่เพิ่งรับเข้ามาใหม่ ไปรวมกับข้อมูลเก่าที่รำลึกได้ เพื่อสร้างเป็นความคิดอ่านหรือข้อตัดสิน
ดิวอี้ ได้ให้แนวคิดเกี่ยวกับความสำคัญของการคิดว่า เป็นสิ่งที่มีคุณค่าเพราะการคิดช่วยให้คนได้มองเห็นภาพปัญหาต่าง ๆ ในอนาคตซึ่งจะช่วยให้บุคคลได้คิดหาแนวทางในการหลีกเลี่ยงหรือป้องกันได้และการคิดช่วยขยายความหมายของสิ่งต่างๆ ใน โลกได้ และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการคิดคือ คนจะมีการปฏิบัติหรือการกระทำตามที่เขาคิดถึงแม้ว่ามันจะถูกหรือผิดก็ตาม
ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ (2547) ผู้อำนวยการสถาบันอนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนา นักวิชาการด้านการคิดที่มีชื่อเสียงของประเทศและยังเป็นที่ปรึกษาอาวุโสแห่งมหาวิทยาลัยฮาวาร์ดสหรัฐอเมริกา ได้ให้ทัศนะไว้ในการบรรยาย เรื่อง "การคิดแบบนักบริหาร" ไว้ตอนหนึ่งว่า (เอกสารการบรรยายหลักสูตรนายอำเภอรุ่นที่ 56, 2547: 1) "การคิดเป็นผลจากการทำงานของสมองในการก่อรูป (Formulate) บางสิ่งบางอย่างขึ้นในมโนคติ (mind) ผ่านการทำงานของระบบการรับรู้ทางจิต (cognitive system) โดยในบางส่วนของความคิดจะทำหน้าที่แยกแยะการกระทำและความรู้สึกผ่านกระบวนการทางความคิดอันนำไปสู่พฤติกรรมที่ตอบสนองสถานการณ์นั้น
ดร.สุวิทย์ มูลคำ (2549) นักวิชาการและนักบริหารด้านการศึกษา ได้กล่าวถึงความสำคัญของการพัฒนาการศึกษาไว้สรุปได้ว่า (ดร.สุวิทย์ มูลคำ, 2549: 1) "ผลลัพธ์สุดท้ายของการบริหารการศึกษาคือคุณภาพของนักเรียน กล่าวคือ เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์มีลักษณะ เก่ง ดี มีความสุข จำเป็นค้นคว้าศึกษาหาวิธีพัฒนาต่างๆ มาใช้ โดยเฉพาะทักษะกระบวนการคิดให้เร็วที่สุด มิฉะนั้นจะไม่ทันต่อความเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก และสงครามที่กำลังจะเกิดขึ้นทั้งปัจจุบันและอนาคต คือ สงครามทางความคิด


ความสำคัญของการคิด


ดิวอี้ ได้ให้แนวคิดเกี่ยวกับการคิดว่าเป็นสิ่งที่มีคุณค่าเพราะการคิดช่วยให้คนได้มองเห็นภาพปัญหาต่าง ๆ ในอนาคตซึ่งจะช่วยให้บุคคลได้คิดหาแนวทางในการหลีกเลี่ยงหรือป้องกันได้และการคิดช่วยขยายความหมายของสิ่งต่างๆ ในโลกได้ และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการคิดคือ คนจะมีการปฏิบัติหรือการกระทำตามที่เขาคิดถึงแม้ว่ามันจะถูกหรือผิดก็ตามเนื่องจากการคิดมีพลังอำนาจ
จึงต้องการการควบคุมโดยได้แนะนำวิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการช่วยรักษาความคิดให้เป็นไปอย่างถูกต้องโดยมีการควบคุมเงื่อนไขภายใต้การสังเกต และการสรุปความคิดตามสิ่งที่เกิดขึ้นและได้มีการทบทวนแนวคิดโดยกล่าวว่า สิ่งที่บุคคลรู้จะเป็นสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดกระบวนการคิดครั้งแรกแล้วจึงนำไปสู่การคิดในสิ่งอื่นๆซึ่งก่อให้เกิดความสมบูรณ์ของกระบวนการคิดนั้น เนื่องจากการคิดมีอิทธิพลอย่างมากจากกิเลสที่อยู่ภายในตัวบุคคล และสังคม

ความแตกต่างกันในการคิด



*                   การคิดคล่องหรือคิดเร็ว กล้าที่จะคิดและมีความคิดหลั่งไหล ออกมาได้อย่างรวดเร็ว การคิดเร็ว จะช่วยให้เกิดความตื่นตัวในการตอบสนองโดยมีการตีความและช่วยให้เกิดความคิดเห็นตามมา
*                   การคิดหลากหลาย ความคิดหลายๆ ลักษณะ หลายประเภทหลายชนิดหลายรูปแบบ ถ้ามี
ความคิดเห็นที่น้อยเกินไปก็เป็นสิ่งบ่งชี้ว่ามีข้อมูลที่ไม่เพียงพอ หรือขาดแคลน อย่างไรก็ตามความคิดเห็นที่มีจำนวนมากทั้งเห็นด้วย และขัดแย้งกันทำให้ยากต่อการ ตัดสินใจและความคิดเห็นที่มากเกินไปทำให้เป็นอุปสรรคต่อการเรียบเรียงลำดับความเป็นเหตุผล ดังนั้นการคิดที่ดีที่สุดคือ การมีความสมดุล ระหว่างความมากและน้อยของความคิดเห็น
*                   การคิดลึกซึ้งเป็นการคิดให้เกิดความเข้าใจอย่างแท้จริงในสิ่งที่คิด โดยเข้าใจถึงสาเหตุที่มาและความสัมพันธ์ต่างๆที่ซับซ้อนของโครงสร้างและรวมทั้งคุณค่าหรือความหมายที่แท้จริงของสิ่งที่คิด

การคิดแบบวิจารณญาณ
การคิดแบบวิจารณญาณ จะเกิดขึ้นเมื่อมีการนำความคิดเห็นมาจัดเป็น ระบบโดยกำหนดมิติแล้วนำข้อมูล มาจัดเป็นกลุ่มตามมิติ แล้วนำมาหาความสัมพันธ์ระหว่างมิติด้วย ความคิดเห็นเหล่านั้นจะถูกจัดการ โดยยึดข้อเท็จจริงที่นำมาพิสูจน์และมีการพิจารณาร่วมกับบุคคลอื่นการพัฒนาลักษณะนิสัยของการจัดลำดับการคิดเป็นวิธีการทางอ้อมไม่ใช่ทางตรง โดยการจัดลำดับการคิดจะกระทำผ่านการจัดลำดับของกิจกรรมการสังเกตต้องมีการดำเนินการเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพของการกระทำโดยต้องกระทำอย่างถูกต้อง แล้วนำข้อมูลที่เกี่ยวข้องกันมาจัดหมวดหมู่และแบ่งแยกออกเป็นกลุ่มเพื่อนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์
ปัญหาในการสร้างนิสัยในการคิดแบบวิจารณญาณ 
     จึงอยู่ที่การสร้างสถานการณ์ในการกระตุ้นและชี้นำให้เกิดความกระตือรือร้น   การกำหนดความเกี่ยวพันของประสบการณ์เพื่อส่งเสริมการสร้างความคิดเห็น  การสร้างสรรค์ปัญหาและจุดมุ่งหมายที่จะสนับสนุน ความต่อเนื่องและลำดับของการคิดในการสร้างความสำเร็จของการคิด

นิสัยในการคิด
*                   นิสัยในการคิด หมายถึง ลักษณะการแสดงออกของบุคคล ประกอบด้วย 
ความกระตือรือร้น หมายถึง พฤติกรรมที่บุคคลที่แสดงออกอันเนื่องจากการปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมระดับความกระตือรือร้นมี3ระดับคือ
*                   ระดับที่ 1 ความกระตือรือร้นได้มาจากสัญชาตญาณของสิ่งมีชีวิต
*                   ระดับที่ 2 เป็นการอยากรู้ในสิ่งที่สงสัยเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมโดยทั่วไป
*                   ระดับที่ 3 เป็น การใช้สติปัญญาโดยจะปรับเปลี่ยนเป็นความสนใจในปัญหาโดยมีการสังเกตสิ่งต่าง ๆ และมีการรวบรวมข้อมูลที่จำเป็นและมีความตื่นตัว ในการแสวงหาคำตอบด้วยตนเอง
การจัดลำดับการคิด
*                   การจัดลำดับการคิด หมายถึง การนำความคิดเห็นมาจัดเป็นระบบ การจัดลำดับการคิด เป็นวิธีการทางอ้อม โดยการจัดลำดับการคิดจะกระทำผ่านการจัดลำดับของกิจกรรม
*                   การสร้างสถานการณ์ในการกระตุ้นและชี้นำให้เกิดความกระตือรือร้น
*                   การกำหนดความเกี่ยวพันของประสบการณ์ เพื่อส่งเสริมการสร้างความคิดเห็น
*                   การสร้างสรรค์ปัญหาและจุดมุ่งหมายที่จะสนับสนุน ความต่อเนื่องและลำดับของการคิดในการสร้างความสำเร็จของการคิด


อ้างอิง
http://www.baanjomyut.com/library_2/scientific_thinking_skills/01.html






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น